วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

สหภาพยุโรป




สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 และ 2501 ตามลำดับ โดยมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน หรือ 7.3% ของประชากรโลก ใน พ.ศ. 2554 สหภาพยุโรปมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงินใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 17.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 20% ของจีดีพีโลก เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ
ในปี พ.ศ. 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากผลงานด้านการผลักดันให้เกิดสันติภาพในยุโรป


ข้อมูลทั่วไป 

ที่ตั้ง         
ประเทศในทวีปยุโรป 27 ประเทศ (ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย  ฮังการี  ลัตเวีย ลิทัวเนีย  มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวาเกีย โรมาเนียและบัลแกเรีย) 
พื้นที่         3,976,372 ตารางกิโลเมตร  
ประชากร   ประมาณ 456.9 ล้านคน 
ภาษา        ประมาณ 20 ภาษา 
ศาสนา      ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ 
                  นอกนั้นนับถือศาสนา ต่าง ๆ เช่น ยิว อิสลาม พุทธ 
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   กรุงบรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียม 
สกุลเงิน       ยูโร ขณะนี้ มีสมาชิกประเทศสหภาพยุโรปเข้าร่วมใน eurozone 13 ประเทศ ได้แก่   ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี  ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์โปรตุเกส สเปน และล่าสุด คือ สโลวีเนีย   
อัตราแลกเปลี่ยน                                                   1 ยูโร =  ประมาณ 49-53 บาท 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)                   13.31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 
อัตราการเจริญเติบโตของ GDP                            ร้อยละ 1.7 
รายได้เฉลี่ยต่อหัว                                                  28,100 ยูโร / คน 
อัตราการว่างงาน                                                   ร้อยละ 9.4 
อัตราเงินเฟ้อ                                                         ร้อยละ 2.2 
มูลค่าการนำเข้า                                                    1.402 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 
ประเทศคู่นำเข้า                                                     สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น 
สินค้าเข้าสำคัญ                         เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก น้ำมันดิบ 
                                                   เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ โลหะ อาหาร เสื้อผ้า 
มูลค่าการส่งออก                        1.318 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 
ประเทศคู่ส่งออก                        สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ จีน รัสเซีย 
สินค้าออกสำคัญ                        เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก ยาและเวชภัณฑ์ 
                                                   เชื้อเพลิง เหล็กและเหล็กกล้า โลหะ เยื่อไม้และกระดาษ สิ่งทอ 
ระบบการเมือง                            เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ปกครองใน
                                                   ระบอบประชาธิปไตย มีประเทศสมาชิกหมุนเวียนกัน
                                                   ดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปทุก 6 เดือน 
                                                   โดยทำงานร่วมกันกับคณะกรรมาธิการยุโรปและสภายุโรป
 
ประธานสหภาพยุโรป (EU Presidency) 
แต่ละประเทศสมาชิกจะเวียนเข้ารับตำแหน่งวาระคราวละ 6 เดือน 
ในช่วงปี 2549 ได้แก่ 
ออสเตรีย  : 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2549  และ  ฟินแลนด์  : 1 ก.ค.- 31 ธ.ค. 2549 
ในช่วงปี 2550 ได้แก่ 
เยอรมนี    : 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2550  และ โปรตุเกส   : 1 ก.ค.- 31 ธ.ค. 2550 
ในช่วงปี 2551  ได้แก่ 
สโลวีเนีย  : 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2551  และ ฝรั่งเศส    : 1 ก.ค.- 31 ธ.ค. 2551 
ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป              นาย Jose Manuel Barroso (โปรตุเกส) 
ประธานสภายุโรป                                 นาย Hans Gert Pottering (เยอรมนี) 

สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรป 
ในภาพรวม สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง ความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคมระดับโลก 
ในด้านเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ “Economic Heavyweight” ที่มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุด และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด 
พลังทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการขยายสมาชิกภาพอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาในกรอบสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน การพัฒนานโยบายร่วมในด้านต่างๆ และการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันและการบริหาร




ประวัติความเป็นมา 



Signed
In force
Document
1948
1948
Brussels Treaty
1951
1952
Paris Treaty
1954
1955
Modified Brussels Treaty
1957
1958
Rome treaties
1965
1967
Merger Treaty
1975
N/A
European Council conclusion
1985
1985
> 1990: Schengen Treaty
1986
1987
Single European Act
1992
1993
Maastricht Treaty
1997
1999
Amsterdam Treaty
2001
2003
Nice Treaty
2007
2009
Lisbon Treaty
Three pillars of the European Union:
European Communities:

European Atomic Energy Community (EURATOM)

  

European Coal and Steel Community (ECSC) Treaty expired in 2002
European Union (EU)

European Economic Community (EEC)

Schengen Rules European Community (EC)
TREVI Justice and Home Affairs (JHA)
Police and Judicial Co-operation in Criminal Matters (PJCC)
European Political Cooperation (EPC) Common Foreign and Security Policy (CFSP)
Unconsolidated bodies Western European Union (WEU)
Treaty terminated in 2011
 อ้างอิงภาพประกอบจาก http://en.wikipedia.org/wiki/European_Union


ค.ศ. 1952 : จัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community – ECSC) มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และ ลักเซมเบิร์ก และ 25 มี.ค. ค.ศ. 1957 กลุ่มประเทศทั้ง 6 ได้ลงนามสนธิสัญญากรุงโรม (Treaties of Rome) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และได้พัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน  
ค.ศ. 1958 : จัดตั้งประชาคมพลังงานปรมาณู (European Atomic Energy Community – EURATOM) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community – EEC) 
ค.ศ. 1967 : ทั้งสามองค์กรได้รวมตัวกันภายใต้กรอบ EEC 
ค.ศ. 1968 : EEC ได้พัฒนาเป็นสหภาพศุลกากร (Custom Union) และก้าวสู่การเป็น    ตลาดร่วม (Common Market) 
ค.ศ. 1973 : สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิก 
ค.ศ. 1981 : กรีซเข้าเป็นสมาชิก 
ค.ศ. 1986 : สเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นสมาชิก 
ค.ศ. 1987 : ออก Single European Act เพื่อพัฒนา EEC ให้เป็นตลาดร่วมหรือตลาดเดียว ในวันที่ 1 มกราคม 1993 และเรียกชื่อใหม่ว่า ประชาคมยุโรป (European Community – EC) 
ค.ศ. 1992 : ลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of the European Union) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สนธิสัญญามาสทริกท์ (Maastricht Treaty) เรียกชื่อใหม่ว่า สหภาพยุโรป (European Union – EU) มีเสาหลัก 3 ประการ คือ (1) ประชาคมยุโรป (2) นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง และ (3) ความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภายใน 
ค.ศ. 1995 : ออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าเป็นสมาชิก 
ค.ศ. 1997 : ลงนามในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) แก้ไขเพิ่มเติม สนธิสัญญามาสทริกท์ เรื่องนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ความเป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป และการปฏิรูปกลไกด้านสถาบันของสหภาพยุโรป 
ค.ศ. 2001 : ลงนามในสนธิสัญญานีซ (Treaty of Nice) เน้นการปฏิรูปด้านสถาบันและกลไกต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป เพื่อรองรับการขยายสมาชิกภาพ 
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 : รับสมาชิกเพิ่มอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา  โปแลนด์ สโลวาเกีย และสโลวีเนีย 
29 ตุลาคม ค.ศ. 2004 : ประเทศสมาชิก EU 25 ประเทศ  
ล่าสุด 1 มกราคม ค.ศ.2007 : ประเทศสมาชิก EU 27 ประเทศ (รับเพิ่มอีก 2 ประเทศ ได้แก่ โรมาเนียและบัลแกเรีย) และ  
25 มีนาคม ค.ศ.2007 ได้ครบรอบ 50 ปี ของการลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม 



วัตถุประสงค์เริ่มต้นของการรวมกลุ่มสหภาพยุโรป

(1) เพื่อสร้างสหภาพทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ โดยการจัดตั้งตลาดร่วมขึ้น หาทางยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศสมาชิกให้สูงขึ้น
(2) หาทางลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างสมาชิกให้หมดภายใน 12 – 15 ปี อันเป็นการเพิ่ม พลังอำนาจทางเศรษฐกิจให้ความมัน่ คงและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ได้แก่ การยกเลิกภาษีศุลกากรที่จัดเก็บระหว่างกันเปลี่ยนมาใช้นโยบายการค้าและการจัดเก็บภาษีศุลกากรระบบเดียวกัน (common external tariff) โดยจัดเก็บจากสินค้าเข้าจากประเทศนอกภาคีหรือประเทศที่สาม ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการประชาคม (The European Commission) ทำหน้าที่แทนสมาชิกประชาคมฯ เงินภาษีเก็บได้จะส่งไปเก็บรวบรวมไว้เป็นเงินกองทุนรวมของประชาคมฯ (own resources)
(3) การมีระบบภาษีศุลกากรร่วมกัน นับเป็นเครื่องมือหลักที่สำคัญของการใช้นโยบายการค้าร่วม โดยการนำเอามาตรการอื่นๆ มาใช้เพมิ่ ตามโอกาสอันควร เช่น ปี 2522  ใช้นโยบายเสริมอีก 2 ชนิดคือ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทุ่มตลาด (Antidumping)และภาษีตอบโต้ (Counter Vailing Duty: DVD) เป็นต้น
(4) เก็บภาษีลักษณะเดียวกันกับประเทศนอกกลุ่ม โดยร่วมมือกันตั้งกำแพงภาษีสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกประชาคมฯ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการถ่ายเทเงินทุนและแรงงานภายในประชาคมฯ

การปกครอง
แม้สหภาพยุโรปจะเป็นการรวมกลุ่มของรัฐหรือเป็นองค์การระหว่างประเทศ แต่โครงสร้างของสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะ "เหนือชาติ" (supranational trait) อย่างชัดเจน ที่กล่าวเช่นนี้เพราะบรรดารัฐสมาชิกไม่เพียงรวมตัวกันเท่านั้น หากยังร่วมสร้างสรรค์สถาบันหรือหน่วยงานภายใน ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่งโดยเฉพาะ อันประกอบไปด้วย สภายุโรป คณะมนตรี คณะกรรมาธิการ และศาลยุติธรรม

สภายุโรป

 สมาชิกสภายุโรปได้รับเลือกตั้งโดยตรงทุก ๆ 5 ปีจากแต่ละประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก 732 คนจาก 27 ประเทศ โดยในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงเกือบหนึ่งในสาม (222 คน) แม้สมาชิกแต่ละคนจะมาจากรัฐสมาชิก แต่การจัดกลุ่มภายในรัฐสภานั้นไม่ได้แบ่งตามสัญชาติ แต่แบ่งโดยทิศทางของพรรคการเมือง กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ พรรคประชาชนยุโรป (European’s People Party) และพรรคประชาธิปไตยยุโรป (European Democrats) ตามมาด้วยกลุ่มสังคมนิยม เสรีนิยม และอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม (กรีน) ที่ทำการสภายุโรปตั้งอยู่ในสองเมืองคือ สทราซบูร์ (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส และบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยประธานสภาคนปัจจุบันคือ Hans Gert Pottering ชาวเยอรมัน  
ภารกิจหลักของสภายุโรปจะเป็นการร่วมตัดสินใจกับคณะมนตรีในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การพิจารณาร่างกฎหมายของสหภาพซึ่งริเริ่มโดยคณะกรรมาธิการ การอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป ให้การรับรองความตกลงระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปกับประเทศนอกกลุ่ม และที่สำคัญที่สุดคือการให้การรับรองผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการยุโรป

คณะมนตรียุโรป
สมาชิกคณะมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศสมาชิก ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ เข้าร่วม รวมทั้งสิ้น 27 คน เช่น การต่างประเทศ เกษตรกรรม คมนาคม เศรษฐกิจและการเงิน และพลังงาน เป็นต้น หากเป็นการประชุมตัดสินใจประเด็นสำคัญ ๆ ก็จะเป็นการประชุมในระดับประมุขของประเทศ โดยจะมีการประชุมสุดยอดสี่ครั้งต่อปีเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของสหภาพยุโรป แต่ละประเทศจะมีเสียงโหวตแตกต่างกันตามสัดส่วนจำนวนประชากร การตัดสินใจส่วนใหญ่ใช้แบบเสียงข้างมาก ในขณะที่ประเด็นสำคัญจะใช้ระบบการโหวตแบบเอกฉันท์
คณะมนตรีถือเป็นองค์กรหลักในด้านนิติบัญญัติและด้านการตัดสินใจชี้ขาดของ สหภาพยุโรป โดยจะประสานงานกับรัฐสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นผู้รับผิดชอบด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน (CFSP: Common Foreign and Security Policy) รวมถึงภารกิจเกี่ยวกับการเปิดเสรีสินค้า บริการ เงินทุน รวมถึงประชาชนด้วย

คณะกรรมาธิการยุโรป                                                                                                                                                                                                 คณะกรรมาธิการเป็นตัวแทนและปกป้องผลประโยชน์ของสหภาพยุโรป โดยเป็นอิสระจากรัฐบาลของแต่ละชาติ คณะกรรมาธิการประกอบด้วยกรรมาธิกร 27 คนจากแต่ละประเทศสมาชิกตามความเชี่ยวชาญโดยจะทำงานร่วมกับข้ารัฐการราว 24,000 คน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ประธานคณะกรรมาธิการจะได้รับการเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกและจะต้องได้ รับการรับรองจากสภา ส่วนกรรมาธิการคนอื่น ๆ จะได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสมาชิกและต้องได้รับการรับรองจากสภาเช่นกัน มีวาระคราวละ 5 ปี โดยประธานคณะกรรมาธิการคนปัจจุบันคือ นายโฮเซ มานูเอล ดูเรา บาร์โรโซ (José Manuel Durao Barroso) ภารกิจหลักของคณะกรรมาธิการคือการเสนอร่างกฎหมาย นอกจากนั้นยังดูแลการบริหารงบประมาณของสหภาพยุโรป กรรมาธิการแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบคนละด้าน แต่ละคนมีเจ้าหน้าที่และองค์กรย่อยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตน เปรียบเทียบได้ว่ากรรมาธิการแต่ละคนคือรัฐมนตรีซึ่งต้องดูแลกระทรวง ทบวง กรมของตนนั่นเอง

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป


 องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละประเทศสมาชิกรวม 27 คน มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก หน้าที่หลักของศาลคือการบังคับใช้ และการตีความกฎหมายเพื่อพิจารณาและชี้ขาดว่ากฎหมายของสหภาพยุโรปได้รับการ ปรับใช้เหมือนกันในทุกประเทศสมาชิกหรือไม่ พลเมืองของสหภาพยุโรปสามารถยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลได้หากสถาบันต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปได้ในกรณีกระทำการผิดกฎหมาย

 ด้านล่างนี้เป็นคลิป BBC Documentary เกี่ยวกับ EU ที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ YouTube ซึ่งทั้งหมด 3 ตอน



  กรณีที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาข้อมูลได้ที่

แหล่งอ้างอิง


 

1 ความคิดเห็น:

  1. The 13 Best Casinos in Michigan for Real Money (2021 Update)
    8 Best Casinos in Michigan for 충청남도 출장마사지 Real Money (2021 Update) · 문경 출장마사지 Golden Nugget · 계룡 출장마사지 BetMGM · Bally's 통영 출장샵 · BetMGM 남양주 출장마사지 · The Borgata · Caesars · MGM National Harbor

    ตอบลบ